24h購物| | PChome| 登入
2013-10-11 20:11:34| 人氣1,219| 回應0 | 上一篇 | 下一篇

菩多佛教文物2館-神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟象神泰文介紹

推薦 0 收藏 0 轉貼0 訂閱站台

 



神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟1.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟10.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟11.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟12.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟13.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟14.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟2.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟3.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟4.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟5.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟6.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟7.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟8.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟9.jpg





神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟象神泰文介紹 

ประวัติความเป็นมา

 

ศาล หลักเมืองของอำเภอพระประแดง  มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่  พระบาทสมเด็จ   พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี  พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง  พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง  เมื่อวันศุกร์  เดือน  7 แรม  10 ค่ำ ปีกุล  พ.ศ. 2358  นั่นเอง

     ปัจจุบันศาลประจำเมือง หรือศาลหลักเมืองนี้  อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง   ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศร์  เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป  คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ  ดังนั้น สภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน  จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม


สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้


     ตามโบราณราชประเพณี  ในการสร้างเมืองมักจะมีการสร้างศาลหลักเมืองไว้เป็นศาลกลางของบ้านเมือง  ดังนั้นศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง  ซึ่งเมืองที่จะมีศาลหลักเมือง  มักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และจัดตั้งตามโบราณราชประเพณี  ดังนั้นศาลหลักเมืองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรืออำเภอพระประแดง  จึงสะท้อนให้เห็นว่าเมืองนี้  เป็นเมืองที่เก่าแก่  และได้จัดตั้งตามโบราณราชประเพณี



สถานที่ตั้ง


     เทศบาลเมืองพระประแดง  ต.ตลาด  อ.พระประแดง  จ.สมุทรปราการ

 

ขออนุญาตินำข้อมูลที่เคยเรียบเรียงไว้ เมื่อครั้งเทศกาลคเณศจตุรถี พ.ศ.๒๕๕๒ มาช่วยเสริมครับ

****************************

ศาลพระคเณศ (เจ้าพ่อหลักเมือง) พระประแดง

.
.
.
ศาล พระคเณศ หรือเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ตั้งอยู่ที่เทศบาลเมืองพระประแดง  ต.ตลาด  อ.พระประแดง  จ.สมุทรปราการ มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๕๘ โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง  และได้ประกอบพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง  เมื่อวันศุกร์  เดือน  ๗ แรม  ๑๐ ค่ำ  ปีกุน  พ.ศ. ๒๓๕๘  นับว่าเป็นพระคเณศองค์เดียวที่มีฐานะเป็นหลักบ้านใจเมืองด้วย
.
.
.
(บุษบกที่ประดิษฐานพระคเณศหรือเจ้าพ่อหลักเมืองของชาวพระประแดง)
.
.
.
ลักษณะ ของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง
.
.
.
(เทวรูปพระคเณศประจำศาลหลักเมืองพระประแดง)
.
.
.
พระ คเณศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระคเณศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล  พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม  ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย  โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์.
.
.
(ความเรียบง่ายแต่แฝงด้วยความงามและน่าเกรงขาม)
.
.
.
ศาล เจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และหลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมพระคเณศองค์ดังกล่าวจึงมีฐานะและได้รับการนับถือให้เป็นเจ้าพ่อหลัก เมือง ทั้งๆทีเวลาที่เราไปศาลแห่งนี้ จึงไม่เห็นเสาหลักเมืองเหมือนกับศาลหลักเมืองแห่งอื่นๆ เรื่องนี้ในความเป็นจริงแล้วองค์พระคเณศที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล มีลักษณะเป็นเสาก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่มจตุรัส และทาด้วยสีแดง จึงอาจอนุมานได้ว่า พระคเณศองค์นี้ก็คือส่วนหนึ่งของเสาหลักเมืองพระประแดงนั่นเอง ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของ พระประแดงจริงๆ
.
.
.
(เสาหลักเมืองพระประแดงที่อยู่ลึกลงไปด้านล่างของศาลแห่งนี้)
.
.
.
พระ คเณศแห่งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาของทั้งชาวพระประแดงและผู้คนที่เคารพศรัทธาในองค์พระ คเณศ แม้ปัจจุบันตัวศาลจะตั้งอยู่ลึกเข้าไปในตลาดพระประแดง แต่ก็มีผู้ศรัทธาเดินทางไปสักการะอย่างไม่ขาดสาย แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม ศาลแห่งนี้ก็ยังคงเป็นทั้งหลักบ้านใจเมือง และเป็นหลักทางจิตวิญญาณของชาวพระประแดงอย่างไม่มีเสื่อมคลาย

 

 

การเดินทางมายังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง

การ เดินทางไปยังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง (จุดสังเกตที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณตลาดพระประแดงติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง) มีรถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย สาย ๖, สาย ๘๒, สาย ๕๐๖, ปอ.๑๓๘, ปอ.๑๔๐  ไปลงตลาดพระประแดง แล้วเดินเข้าไปในตลาดประมาณไม่เกินร้อยเมตรก็จะเห็นตัวศาลอยู่ทางด้านซ้าย มือ (ที่ทางเข้าตลาดจะมีป้ายบอกชื่อศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงอยู่ครับ) หากไปไม่ถูกจริงๆ เมื่อลงรถที่หน้าตลาดแล้วให้ถามทางพ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นก็ได้ว่าจะมาที่ศาล เจ้าพ่อหลักเมืองได้อย่างไรครับ
.
(หมายเหตุ : แผนที่นี้ให้ดูเฉพาะสถานที่ตั้งนะครับ  อย่าไปยึดตามลูกศรที่ปรากฏในแผนที่
เพราะเดิมแผนที่นี้เป็นแผนที่การเดินทางไปยังสถานที่อื่น
ฉะนั้นขอให้เพื่อนๆพี่ๆดูเฉพาะสถานที่ตั้งของตลาดพระประแดงก็พอครับ)
.
จุดสังเกตทางเข้าตลาดพระประแดงที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
.

ศาลนี้เป็นศาลหลักเมืองครับ ตั้งอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ
เดิมทีแถบนี้เรียกว่า นครเขื่อนขันธ์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( รัชกาลที่ ๑ ) พระองค์ท่าน
มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างเมืองไว้ป้องกันข้าศึกทางทะเล ( ในสมัยนั้นเกรงว่าญวนจะยกทัพมาทาง
ทะเล เพราะตอนที่ ร.๑ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็มี องค์เชียงสือ ซึ่งเป็นหลานกษัตริย์
ญวน ได้หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารอยู่นาน แต่แล้วได้หนีกลับโดยที่มิได้บอกกล่าว ด้วยการล่องเรือ
ออกทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา )


การสร้างเมืองนั้นยังไม่ทันเสร็จ เพียงแต่สร้างป้อมปราการเท่านั้นพระองค์ก็มาสวรรคตเสียก่อน
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ ๒ ) จึงโปรดให้ พระอนุชาธิราช-

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ไปสร้างเมืองต่อโดยตัดเอาท้องที่แขวงกรุงเทพฯบ้าง ท้องที่แขวง
สมุทรปราการบ้าง รวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่แล้วพระราชทานชื่อว่า "เมืองนครเขื่อนขันธ์" โปรดให้
ย้ายครัวชาวมอญจากเมืองปทุมธานีบางส่วนมาอยู่ ณ.เมืองนี้ ซึ่งก็มีพระยาเจ่ง(ช้าง)เป็นหัวหน้า
ชาวมอญของพระยาเจ่งนี้มีประมาณ 300 คนเองครับ

คิดดูแล้วตอนนั้นเมืองคงไม่ใหญ่เท่าไหร่ บุตรหลานพระยาเจ่งซึ่งเป็น ต้นตระกูลคชเสนี ได้เป็นเจ้าเมือง

นครเขื่อนขันธ์มาถึงเก้าคน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ
นครเขื่อนขันธ์ เป็นจังหวัดพระประแดง ในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 พระนิพนธ์ของ กรมพระยา-
ดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ว่า "การสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์สำเร็จ ได้ตั้งพิธีฝัง อาถรรพ์ปักหลักเมือง ณ
วันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ปีกุน สัปตศก จุลศักราช 1177 พ.ศ.2385 ฯลฯ"

ข้อมูลพวกนี้ผมดูมาจากเวปของจังหวัดสมุทรปราการน่ะครับ แต่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐบอกว่า พ.ศ.2358

ก็เลยไม่รู้ปีไหนกันแน่ องค์พระพิคเณศนี้ จะมีการสรงน้ำพระราชทาน ทุกปีครับ จะขอนำรูปพิธีคเณศจตุรถี
ที่ผมถ่ายไว้เมื่อปี 51 มาให้ชมกันครับ

พิธีบวงสรวงกลางแจ้ง 

 
เจ้าพิธีคือ พระครูสุริยาเทเวศร์ จาก สำนักพราหมณ์พระราชครูในสำนักพระราชวัง 

 
พิธีบวงสรวงด้านในศาล 

 
พระสังข์ที่เตรียมไว้สรงน้ำองค์พระพิคเณศ (เรียงเป็นคำว่า โอม และ รูปสวัสดิกะ ) 

 
องค์ท่านหลังจากที่ช่วยกัน นำเครื่องบูชาออกแล้ว 

 
สรงน้ำครับ (เป็นคนละพิธีกับการสรงน้ำพระราชทาน) 

 
ผูกสายยัญโญปวีต

http://i212.photobucket.com/albums/cc4/tewadhol/6-1.jpg
อารตีไฟ 

 
เสร็จพิธี โปรยดอกไม้
1001101
 

台長: THOKCHAS
人氣(1,219) | 回應(0)| 推薦 (0)| 收藏 (0)| 轉寄
全站分類: 興趣嗜好(收藏、園藝、棋奕、汽機車) | 個人分類: 佛牌資訊及佛寺朝聖資料 |
此分類下一篇:佛牌發料
此分類上一篇:2013.9月泰國3哥至沙馬公佛牌協會辦事與會長帕亞刊潘合照

是 (本台目前設定為強制悄悄話)
* 請輸入識別碼:
請輸入圖片中算式的結果(可能為0) 
(有*為必填)
TOP
詳全文