'เหรียญจักรเพชร 54' เป็นเหรียญวัตถุมงคลท้าวมหาพรหมธาดา ของดีพระใหม่น่าสะสมของวัดดอนยานนาวา เขตบางรัก กรุงเทพฯ
พระใหม่
พระใหม่มี ลักษณะทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์ กลาง 3 เซนติเมตร ข้างหน้าเหรียญเป็นรูปองค์สมเด็จพระบรมครูท่านท้าวมหาพรหมธาดา บรรจุชื่อที่ฐานพระรูป ว่า "ท่านท้าวมหาพรหมธาดา" มีลูกประคำ 108 ลูกล้อม รอบ มียันต์ตานกแมว ปิดท้ายอักขระขอม ทั้งสองข้าง
ข้าง หลังเหรียญ มีจักรเก้าอยู่ตรงกลาง มีรัศมีรอบจักร มียันต์ตรีนิสิงเหอยู่ตรงกลางจักร และบนจักรมีอักษรไทยว่า "เหรียญจักรเพชร" บนขึ้นไปมีอุณาโลม รอบจักรมี คชสีห์ ราชสีห์และเสือ อยู่รอบจักร มีอักษรขอมโบราณ มีลูกประคำ 108 ลูกล้อมรอบ กล่าวได้ว่าเหรียญจักรเพชรคือเหรียญรูปพระพรหมธาดา
กล่าวกันว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือกันว่าท่านเป็นพระผู้สร้างจักรวาลและทรงเป็นหนึ่งในตรีมูรติ ประกอบด้วยเทพเจ้าสามองค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ
เชื่อกัน ว่า พระพรหมเป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงกว่าเทวดา สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นพรหม และเนื่องจากพระพรหมยังอยู่ในกามาวจรภพ จึงยังคงมีการเวียนว่ายตายเกิด
ชาว ไทยจำนวนไม่น้อย ให้ความเลื่อมใสศรัทธา 'องค์พระพรหมมหาเทพ' ด้วยมีความเชื่อว่า องค์พระพรหม สามารถบันดาลความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน สติปัญญา เมตตาโชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
เมื่อเร็วๆ นี้ วัดดอนประกอบพิธีปลุกเสก"เหรียญจักรเพชร 54" ตามหลักของพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ นั่งปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งยุค
จุดเทียนชัยตามฤกษ์ โดยหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่วน พระเกจิอาจารย์ 9 รูป ได้แก่ หลวงปู่หวล วัดพุธไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม กรุงเทพฯ, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี, พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม, พระอาจารย์ชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี, พระอาจารย์สมชาย วัดปริวาส กรุงเทพฯ สุดท้ายหลวงพ่อณรงค์ เจ้าอาวาส วัดบรมสถล (วัดดอนยานนาวา) กรุงเทพฯ
ปีนี้ถือเป็นโอกาสอันดีแก่ผู้ที่สนใจเมื่อวัดดอนยานนาวา เขตบางรัก กรุงเทพฯ ได้ดำริจัดสร้าง
พระใหม่เหรียญจักรเพชรอีกครั้ง มวลสารและพิธีกรรมครบดังเดิมทุกประการ
สำหรับ "วัดดอน" หรือ "วัดบรมสถล" เป็นวัดโบราณ ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์
ปรากฏความตามข้อยืนยันดั้งเดิมว่า 'มังจันจ่าพระยาทวาย' เป็นผู้มีศรัทธาสร้างขึ้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวทวายในสมัยนั้น
พระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอนุสรณ์ ถึงความดีงามของมังจันจ่าพระยาทวาย ในกรณีที่ยกเมืองทวาย และชักชวนเจ้าเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี ซึ่งเป็นฝ่ายพม่าข้าศึก ให้มาสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มังจันจ่าพระยาทวาย ผู้มีความชอบ พาครอบครัวและข้าไทบริวาร อพยพมารับราชการที่พระนคร พระราช ทานที่หลวงซึ่งมีอยู่ ณ ตำบลคอกกระบือ ให้เป็นที่อยู่ของเหล่าชาวทวายที่อพยพมา เมื่อปีชวด พุทธศักราช 2335 แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เนมะโยกะยอดินหรือมังจันจ่าพระยาทวาย เป็นหัวหน้าปกครองดูแลบรรดาชาวทวายเหล่านั้น
เมื่อได้ที่อยู่อาศัย เป็นหลักฐานแล้ว มังจันจ่าพระยาทวายจึงเชิญชวน ผู้มีจิตศรัทธาชาวทวาย ให้ช่วยกันขวนขวายสร้างวัดขึ้นในราวปีพุทธศักราช 2340
วัดที่สร้างขึ้นนี้ โดยเหตุที่เป็นวัดสร้างขึ้นบนภูมิภาคอันเป็นที่ดอน รอบบริเวณเป็นที่ลุ่มราบ ดังนั้นจึงปรากฏนามว่า วัดดอน
โดยที่วัดนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยศรัทธาของพระยาทวาย ดังนั้น ผู้คนทั้งหลายจึงนิยมเรียกกันง่ายๆว่า 'วัดดอนทวาย'
ล่วง ถึงปีพุทธศักราช 2400 ครั้งรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ผู้ทรงเป็นมหาปราชญ์ในเชิงอักษรศาสตร์ภาษา ได้ทรงพระกรุณาเปลี่ยนนามวัดที่พระยาทวาย สร้างขึ้นนี้ว่า "วัดบรมสถล" สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้